๑. ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
จากเดิม “การผลิต นําเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ตามปริมาณ ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นการผลิต นําเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่าย"
แก้ไขเป็น "การผลิต นําเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ตามปริมาณ ดังต่อไปนี้ ให้สันนิษฐานว่าเป็นการผลิต นําเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่าย"
๒. ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
จากเดิม “การมียาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ไว้ในครอบครองคํานวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ หนึ่งร้อยกรัมขึ้นไป ให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่าย”
แก้ไขเป็น “การมียาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ไว้ในครอบครองคํานวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ หนึ่งร้อยกรัมขึ้นไป ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่าย”
๓. ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
จากเดิม “การมียาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ หรือในประเภท ๕ ไว้ในครอบครองมีปริมาณตั้งแต่ สิบกิโลกรัมขึ้นไป ให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่าย”
แก้ไขเป็น “การมียาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ หรือในประเภท ๕ ไว้ในครอบครองมีปริมาณตั้งแต่ สิบกิโลกรัมขึ้นไป ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่าย”
- บทบัญญัติมาตรา ๑๕ วรรคสาม มาตรา ๑๗ วรรคสอง และมาตรา ๒๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ไม่ให้ใช้บังคับแก่คดีที่ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้นํากฎหมาย ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ บังคับแก่คดีดังกล่าวต่อไปจนกว่าคดีถึงที่สุด
- คดีซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายยื่นคําแถลงขอสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมว่าการกระทําของจําเลยเป็นการกระทํา เพื่อจําหน่ายหรือไม่ ก็ให้ศาลสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร)
๔. ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
จากเดิม “มาตรา ๖๕ ผู้ใดผลิต นําเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา ๑๕ ต้องระวางโทษจําคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท
ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําเพื่อจําหน่าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต
ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําเพื่อจําหน่าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต
ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการผลิตโดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ และมีปริมาณคํานวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีจํานวนหน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงปริมาณที่กําหนดตามมาตรา ๑๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษ จําคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคสาม เป็นการกระทําเพื่อจําหน่าย ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สี่ปี ถึงจําคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท”
แก้ไขเป็น “มาตรา ๖๕ ผู้ใดผลิต นําเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา ๑๕ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สิบปีถึงจําคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท
ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําเพื่อจําหน่าย ต้องระวางโทษจําคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต
ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการผลิตโดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ ต้องระวางโทษ จําคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคสาม เป็นการกระทําเพื่อจําหน่าย ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สี่ปี ถึงจําคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท”
๕. ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๗ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
จากเดิม “มาตรา ๖๗ ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคํานวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีจํานวนหน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงปริมาณที่กําหนดตามมาตรา ๑๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ"
แก้ไขเป็น “มาตรา ๖๗ ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ โดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(หมายเหตุ.- อัตราโทษสําหรับความผิดเกี่ยวกับ การผลิต นําเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ที่กําหนดโทษให้จําคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต ยังไม่เหมาะสม จึงแก้ไขใหม่
- ในกรณีที่ศาลพิพากษาลงโทษผู้กระทําความผิดตามมาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าผู้กระทําความผิดยังไม่ได้รับโทษ หรือกําลังรับโทษอยู่ เมื่อความปรากฏแก่ศาล หรือเมื่อผู้กระทําความผิด ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้นหรือพนักงานอัยการร้องขอ ให้ศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดีนั้นมีอํานาจกําหนดโทษใหม่ตามมาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ในการที่ศาลจะกําหนดโทษใหม่นี้ ให้ศาลมีอํานาจไต่สวนผู้ที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นว่าจําเป็น ถ้าปรากฏว่า ผู้กระทําความผิดได้รับโทษมาบ้างแล้ว และศาลเห็นเป็นการสมควร ศาลจะรอการลงโทษที่เหลืออยู่หรือจะปล่อยผู้กระทําความผิดไปก็ได้)