คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7354/2555
ป.วิ.อ. การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน (มาตรา 227 วรรคสอง)
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
โจทก์ มี สิบตำรวจโท อ. สิบตำรวจโท ส. และ สิบตำรวจโท ป. เป็นประจักษ์พยานเบิกความว่า ก่อนเกิดเหตุประมาณ 1 สัปดาห์ ได้รับแจ้งจากสายลับว่าจำเลยลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จึงรายงานผู้บังคับบัญชา วันเกิดเหตุ ผู้บังคับบัญชาไปขอหมายค้นจากศาลชั้นต้น แล้วร่วมกันวางแผนจับกุมโดยนำธนบัตรของกลางไปถ่ายสำเนาและลงรายงานประจำวันธุรการไว้ แล้วให้สายลับนำธนบัตรดังกล่าวไปติดต่อซื้อเมทแอมเฟตามีน 3 เม็ด จากจำเลยในราคาเม็ดละ 60 บาท โดยพยานโจทก์ทั้งสามกับพวกซุ่มดูอยู่ห่างจากบ้านจำเลยประมาณ 30 เมตร เมื่อสายลับขับรถจักรยานยนต์เข้าไปพบจำเลยที่บ้านจำเลย แล้วสายลับส่งธนบัตรให้จำเลย ส่วนจำเลยเดินเข้าไปที่ห้องน้ำซึ่งอยู่ห่างจากตัวบ้านชั้นล่างประมาณ 1 ถึง 2 เมตร จากนั้นกลับออกมานำสิ่งของไปส่งมอบให้สายลับ สายลับขับรถจักรยานยนต์กลับออกมามอบเมทแอมเฟตามีน ๓ เม็ด ให้แก่พยานโจทก์ทั้งสามที่จุดซุ่มดังกล่าว พยานโจทก์ทั้งสามกับพวกจึงขับรถยนต์กระบะเข้าไปที่บ้านจำเลย โดยแสดงหมายค้นแล้วให้จำเลยล้วงสิ่งของออกจากตัวจำเลยพบธนบัตรของกลาง ส่วนสิบตำรวจโท ป. ไปตรวจค้นบริเวณหน้าห้องน้ำ พบเมทแอมเฟตามีนอีก 24 เม็ด บรรจุอยู่ในถุงพลาสติกใสขนาดเล็กอยู่ในกองเสื้อผ้า
เห็นว่า การค้นพบเมทแอมเฟตามีนของกลางอีก 24 เม็ดนั้น โจทก์มีเพียงสิบตำรวจโท ป. ไปตรวจค้นที่บริเวณหน้าห้องน้ำซึ่งอยู่ด้านหลังบ้านจำเลยและพบของกลางดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่มีบุคคลอื่นรู้เห็นในขณะตรวจค้นด้วย อีกทั้ง ไม่มีการทำบันทึกการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุเป็นหลักฐาน พยานโจทก์เช่น สิบตำรวจโท อ. และสิบตำรวจโท ป. ก็เบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยว่า บ้านจำเลยไม่มีรั้ว ดังนั้น บุคคลทั่วไปย่อมสามารถผ่านเข้าออกได้โดยง่าย ขณะเกิดเหตุ ก็มีผู้อื่นนั่งอยู่ในบ้านจำนวนหลายคน แม้จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุม แต่ก็ให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวน
พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบจึงมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยได้กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน ๒๔ เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย
✩ ระเบียบ กฎหมาย และคำพิพากษาฎีกา เกี่ยวกับคดียาเสพติดให้โทษ ✩ความถูกต้องเป็นไปตามวันที่เขียนบทความและอัพเดท✩
วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
คดีสอบสวนขยายผลจากผู้เสพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3476/2555
ป.วิ.อ. คำซัดทอด (มาตรา 227/1)
โจทก์มี จ. เป็นพยานเบิกความว่า พยานรู้จักจำเลยมาตั้งแต่จำความได้ จำเลยเป็นญาติห่าง ๆ ของพยาน บ้านจำเลยกับบ้านพยานอยู่ใกล้กัน เมื่อปี 2547 พยานถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด แจ้งข้อหาว่าเสพเมทแอมเฟตามีน พยานให้การต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยในราคาเม็ดละ 100 บาท
พันตำรวจโท อ. พนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความว่า เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2550 จ่าสิบตำรวจ ส. กับพวกจับกุมตัวจำเลยได้ตามหมายจับนำตัวมามอบให้พยานดำเนินคดีในข้อหาจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ชั้นสอบสวนพยานแจ้งข้อหาดังกล่าว จำเลยให้การปฏิเสธ พยานได้จัดให้ จ. ชี้ตัวจำเลย จ. ชี้ตัวจำเลยยืนยันว่าเป็นคนขายเมทแอมเฟตามีนให้ตนเอง
เห็นว่า หลังจากถูกจับกุม จ. ได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนซัดทอดว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยในราคาเม็ดละ 100 บาท โดยบอกถึงวิธีการซื้อขายต้องทำอย่างไร จุดตำแหน่งที่ซื้อขายอยู่ตรงไหนทั้งได้พาพนักงานสอบสวนไปดูจุดตำแหน่งที่ซื้อขาย โดยแสดงท่าประกอบตรงที่โยนเงินและโยนเมทแอมเฟตามีนให้แก่กัน ทั้งยืนยันชี้รูปภาพจำเลย และสถานที่เกิดเหตุ ซึ่งหากไม่รู้เห็นจริงยากที่จะบอกรายละเอียดและชี้จุดตำแหน่งแสดงท่าทางดังกล่าวได้ จ. ให้การและนำพนักงานสอบสวนไปชี้และแสดงวิธีการซื้อขายดังกล่าวหลังจากถูกจับกุมเพียงวันเดียวโอกาสคิดปั้นแต่งยังมีน้อย และที่สำคัญหลังจากนั้นมาประมาณ 3 ปี เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้ จัดให้มีการชี้ตัว จ. ก็ยังยืนยันตัวจำเลยอยู่อีก แสดงถึงความมั่นคงในสิ่งที่ตนเองให้การไว้ก่อนนี้ เมื่อพิจารณาถึงเมทแอมเฟตามีนของกลางที่มีจำนวนเล็กน้อย ประกอบกับ จ. และจำเลยเองก็รู้จักกันมาตั้งแต่เด็กเป็นญาติและบ้านอยู่ใกล้กัน หากไม่จริงเชื่อว่าคงไม่กล้าให้การใส่ร้ายจำเลยเป็นแน่ เชื่อว่า จ. ให้การต่อพนักงานสอบสวนดังกล่าวตามความจริง แม้ในชั้นพิจารณา จ. จะมาเป็นพยานโจทก์โดยเบิกความต่างไปจากที่ให้การดังกล่าวไว้ก็เพียงเพื่อทำลายน้ำหนักคำซัดทอด ที่ต้องช่วยเหลือจำเลยไม่ให้ต้องรับโทษ จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง คำให้การชั้นสอบสวนมีน้ำหนักให้รับฟังได้มากกว่า
แม้คำให้การชั้นสอบสวนเป็นคำซัดทอด แต่กฎหมายไม่ได้ห้ามมิให้รับฟังคำซัดทอดเสียทีเดียว เพียงแต่ให้รับฟังด้วยความระมัดระวัง เมื่อพิจารณาแล้วรูปคดีมีพฤติการณ์พิเศษ ทั้งคำซัดทอดดังกล่าวไม่ได้ทำให้ตนเองพ้นผิด จึงมีเหตุผลเพียงพอที่จะรับฟัง นอกจากนี้ยังมีพยานประกอบอื่นที่มิใช่เป็นผลสืบเนื่องมาจากคำซัดทอดสนับสนุนอีก กล่าวคือ มี ป. ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านที่จำเลยอยู่ในช่วงที่เกิดเหตุ กับดาบตำรวจ ร. เจ้าพนักงานตำรวจฝ่ายสืบสวน สถานีตำรวจภูธรอำเภอแม่ใจ ท้องที่เกิดเหตุ เบิกความเป็นพยานโจทก์ยืนยันว่า จำเลยมีพฤติการณ์ลักลอบขายเมทแอมเฟตามีนในพื้นที่ โดยเฉพาะดาบตำรวจ ร. ได้ติดตามพฤติกรรมจำเลยและทำรายงานไว้ จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านหรือถามค้านพยานทั้งสองปากนี้ให้เห็นชัดว่าไม่จริงอย่างไร ทั้งที่เบิกความให้ตนเองเสียหาย ไม่ปรากฏว่าพยานโจทก์ทั้งสองมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน จึงไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าจะเบิกความปรักปรำให้ร้ายจำเลย เชื่อว่าเบิกความตามจริง
เมื่อเกิดเหตุแล้วมีการออกหมายจับจำเลยวันที่ 23 มิถุนายน 2548 จนถึงวันจับกุมจำเลยได้ตามหมายจับ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2550 จำเลยนำสืบว่าไปทำงานเลี้ยงกุ้งก้ามกรามที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เพิ่งกลับมาจังหวัดพะเยาเมื่อต้นปี 2549 แสดงว่าเมื่อเกิดเหตุคดีนี้จำเลยไม่ได้อยู่บ้านที่อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา น่าเชื่อว่าจำเลยหลบหนีหลังจาก จ. ถูกจับกุมเมื่อรับฟังประกอบกับคำให้การของ จ. ชั้นสอบสวนแล้วมีน้ำหนักรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง
(หมายเหตุ :- คดีนี้ผู้บันทึกเป็นพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนด้วยตนเองมาตั้งแต่ต้น)
ป.วิ.อ. คำซัดทอด (มาตรา 227/1)
โจทก์มี จ. เป็นพยานเบิกความว่า พยานรู้จักจำเลยมาตั้งแต่จำความได้ จำเลยเป็นญาติห่าง ๆ ของพยาน บ้านจำเลยกับบ้านพยานอยู่ใกล้กัน เมื่อปี 2547 พยานถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด แจ้งข้อหาว่าเสพเมทแอมเฟตามีน พยานให้การต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยในราคาเม็ดละ 100 บาท
พันตำรวจโท อ. พนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความว่า เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2550 จ่าสิบตำรวจ ส. กับพวกจับกุมตัวจำเลยได้ตามหมายจับนำตัวมามอบให้พยานดำเนินคดีในข้อหาจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ชั้นสอบสวนพยานแจ้งข้อหาดังกล่าว จำเลยให้การปฏิเสธ พยานได้จัดให้ จ. ชี้ตัวจำเลย จ. ชี้ตัวจำเลยยืนยันว่าเป็นคนขายเมทแอมเฟตามีนให้ตนเอง
เห็นว่า หลังจากถูกจับกุม จ. ได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนซัดทอดว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยในราคาเม็ดละ 100 บาท โดยบอกถึงวิธีการซื้อขายต้องทำอย่างไร จุดตำแหน่งที่ซื้อขายอยู่ตรงไหนทั้งได้พาพนักงานสอบสวนไปดูจุดตำแหน่งที่ซื้อขาย โดยแสดงท่าประกอบตรงที่โยนเงินและโยนเมทแอมเฟตามีนให้แก่กัน ทั้งยืนยันชี้รูปภาพจำเลย และสถานที่เกิดเหตุ ซึ่งหากไม่รู้เห็นจริงยากที่จะบอกรายละเอียดและชี้จุดตำแหน่งแสดงท่าทางดังกล่าวได้ จ. ให้การและนำพนักงานสอบสวนไปชี้และแสดงวิธีการซื้อขายดังกล่าวหลังจากถูกจับกุมเพียงวันเดียวโอกาสคิดปั้นแต่งยังมีน้อย และที่สำคัญหลังจากนั้นมาประมาณ 3 ปี เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้ จัดให้มีการชี้ตัว จ. ก็ยังยืนยันตัวจำเลยอยู่อีก แสดงถึงความมั่นคงในสิ่งที่ตนเองให้การไว้ก่อนนี้ เมื่อพิจารณาถึงเมทแอมเฟตามีนของกลางที่มีจำนวนเล็กน้อย ประกอบกับ จ. และจำเลยเองก็รู้จักกันมาตั้งแต่เด็กเป็นญาติและบ้านอยู่ใกล้กัน หากไม่จริงเชื่อว่าคงไม่กล้าให้การใส่ร้ายจำเลยเป็นแน่ เชื่อว่า จ. ให้การต่อพนักงานสอบสวนดังกล่าวตามความจริง แม้ในชั้นพิจารณา จ. จะมาเป็นพยานโจทก์โดยเบิกความต่างไปจากที่ให้การดังกล่าวไว้ก็เพียงเพื่อทำลายน้ำหนักคำซัดทอด ที่ต้องช่วยเหลือจำเลยไม่ให้ต้องรับโทษ จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง คำให้การชั้นสอบสวนมีน้ำหนักให้รับฟังได้มากกว่า
แม้คำให้การชั้นสอบสวนเป็นคำซัดทอด แต่กฎหมายไม่ได้ห้ามมิให้รับฟังคำซัดทอดเสียทีเดียว เพียงแต่ให้รับฟังด้วยความระมัดระวัง เมื่อพิจารณาแล้วรูปคดีมีพฤติการณ์พิเศษ ทั้งคำซัดทอดดังกล่าวไม่ได้ทำให้ตนเองพ้นผิด จึงมีเหตุผลเพียงพอที่จะรับฟัง นอกจากนี้ยังมีพยานประกอบอื่นที่มิใช่เป็นผลสืบเนื่องมาจากคำซัดทอดสนับสนุนอีก กล่าวคือ มี ป. ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านที่จำเลยอยู่ในช่วงที่เกิดเหตุ กับดาบตำรวจ ร. เจ้าพนักงานตำรวจฝ่ายสืบสวน สถานีตำรวจภูธรอำเภอแม่ใจ ท้องที่เกิดเหตุ เบิกความเป็นพยานโจทก์ยืนยันว่า จำเลยมีพฤติการณ์ลักลอบขายเมทแอมเฟตามีนในพื้นที่ โดยเฉพาะดาบตำรวจ ร. ได้ติดตามพฤติกรรมจำเลยและทำรายงานไว้ จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านหรือถามค้านพยานทั้งสองปากนี้ให้เห็นชัดว่าไม่จริงอย่างไร ทั้งที่เบิกความให้ตนเองเสียหาย ไม่ปรากฏว่าพยานโจทก์ทั้งสองมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน จึงไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าจะเบิกความปรักปรำให้ร้ายจำเลย เชื่อว่าเบิกความตามจริง
เมื่อเกิดเหตุแล้วมีการออกหมายจับจำเลยวันที่ 23 มิถุนายน 2548 จนถึงวันจับกุมจำเลยได้ตามหมายจับ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2550 จำเลยนำสืบว่าไปทำงานเลี้ยงกุ้งก้ามกรามที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เพิ่งกลับมาจังหวัดพะเยาเมื่อต้นปี 2549 แสดงว่าเมื่อเกิดเหตุคดีนี้จำเลยไม่ได้อยู่บ้านที่อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา น่าเชื่อว่าจำเลยหลบหนีหลังจาก จ. ถูกจับกุมเมื่อรับฟังประกอบกับคำให้การของ จ. ชั้นสอบสวนแล้วมีน้ำหนักรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง
(หมายเหตุ :- คดีนี้ผู้บันทึกเป็นพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนด้วยตนเองมาตั้งแต่ต้น)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ.๒๕๔๒
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
พ.ศ. 2542
พ.ศ. 2542
-------------------------------
โดยที่ปรากฏว่า ในปัจจุบันเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเพิ่มขึ้น อันเป็นมูลเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดตามนโยบายของรัฐบาลไม่บรรลุวัตถุประสงค์ จำเป็นต้องกำหนดมาตรการวางแนวทางการปฏิบัติตนขั้นต้นของเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยมิให้เข้าไปช่วยเหลือ หรือรับความช่วยเหลือ หรือคบค้าสมาคม กับบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด อันจะเป็นวิธีการป้องกันมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (8) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ 2542"
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ข้อ 4 ในระเบียบนี้
"ยาเสพติด" หมายความว่า ยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ และวัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
"ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" หมายความว่า การกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
"กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด" หมายความว่า กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท และกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
"เกี่ยวข้องกับยาเสพติด" หมายความว่า พฤติการณ์ซึ่งพิจารณาจากข้อมูล หรือข่าวสารหรือพยานหลักฐานใด ๆ แล้วมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งยาเสพติดอันเป็นความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 เกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดอันเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
"ป.ป.ส." หมายความว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลหรือข่าวสารการกระทำที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดประจำกรุงเทพมหานครหรือประจำภาคต่าง ๆ แล้วแต่กรณี
"เจ้าหน้าที่ของรัฐ" หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของราชการส่วนกลางราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น และให้หมายความความถึงเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)