ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๓/๒๕๕๘ เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๑๙ ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นมา โดยมีเจตนารมณ์เพื่อป้องกัน ระงับและปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดในหลายพื้นที่ซึ่งเป็นภัยอันร้ายแรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศรวมถึงความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมอบหมายอาจขอความร่วมมือจากข้าราชการทหาร โดยแจ้งความประสงค์ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมอบหมาย เพื่อให้พิจารณาแต่งตั้งข้าราชการทหารซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นร้อยตรี เรือตรี หรือเรืออากาศตรีขึ้นไป ไปปฏิบัติการตามคำขอ โดยข้าราชการทหารที่ได้รับการแต่งตั้งมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
๑. ค้นสถานที่ โดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาล
- มีอำนาจเข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใด ๆ เพื่อตรวจค้น เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่า มีบุคคลซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหลบซ่อนอยู่ หรือ มีทรัพย์สินซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยการกระทำความผิด หรือได้ใช้ หรือจะใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้
- ประกอบกับกรณีดังกล่าวต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่า เนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ บุคคลนั้นจะหลบหนีไป หรือ ทรัพย์สินนั้นจะถูกโยกย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม
- ในกรณีดังกล่าวถ้าเป็นการเข้าค้นในเวลากลางคืนภายหลังพระอาทิตย์ตก ข้าราชการทหารผู้เป็นหัวหน้าในการเข้าค้น ต้องเป็นข้าราชการทหารซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นร้อยเอก เรือเอก หรือเรืออากาศเอกขึ้นไป
๒. ค้นบุคคล หรือยานพาหนะ
- มีอำนาจค้นตัวบุคคล และยานพาหนะ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่า มียาเสพติด ซุกซ่อนอยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
๓. จับกุม
- ในกรณีที่พบบุคคลใด ๆ กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวผู้ถูกจับไว้เพื่อทำการสอบสวนเบื้องต้นได้เป็นเวลาไม่เกินสามวัน
- เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าว หรือก่อนนั้นตามที่จะเห็นสมควร ให้ส่งตัวผู้ถูกจับไปยังพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ โดยมิให้ถือว่าการควบคุมผู้ถูกจับดังกล่าวเป็นการควบคุมของพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (มิให้นับระยะเวลาควบคุมไม่เกิน ๓ วันนั้นรวมเข้าไปกับระยะเวลาการควบคุมของพนักงานสอบสวน)
๔. ยึดหรืออายัด
- ยึดยาเสพติดที่มีไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- ยึดหรืออายัดทรัพย์สินอื่นใดที่ได้ใช้ หรือจะใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้
๕. ค้น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
- ให้ข้าราชการทหารที่ได้รับการแต่งตั้งมีอำนาจหน้าที่ในการค้นดั่งที่กฎหมายบัญญัติให้เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น
๖. ทดสอบการเสพยาเสพติด
- ในกรณีที่จำเป็นและมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดเสพยาเสพติด ให้ข้าราชการทหารซึ่งได้รับแต่งตั้งมีอำนาจสั่งให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลดังกล่าวรับการตรวจ หรือทดสอบว่ามีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่
๗. ขอให้บุคคลช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่
- ในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการทหารดังที่กล่าวมาข้างต้น ให้ข้าราชการทหารดังกล่าวมีอำนาจขอให้บุคคลใดช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ และให้บุคคลนั้นมีอำนาจช่วยการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารได้
๘. เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
- ในการปฏิบัติการตามคำสั่งนี้ ให้ข้าราชการทหารซึ่งได้รับแต่งตั้ง เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และ เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
๙. ให้เจ้าพนักงานอื่นร่วมมือด้วย
- ให้เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๑๙ ยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนตามกฎหมายดังกล่าวโดยเคร่งครัด และ
- ให้เจ้าพนักงานดังกล่าว ดำเนินการร่วมกับข้าราชการทหารซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามคำสั่งนี้
- ในกรณีที่เจ้าพนักงานดังกล่าว ขัดขืน หรือไม่ให้ความร่วมมือ จนก่อให้เกิดความเสียหายในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ ให้ถือว่า ผู้นั้นกระทำความผิดวินัยร้ายแรง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมอบหมายอาจขอความร่วมมือจากข้าราชการทหาร โดยแจ้งความประสงค์ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมอบหมาย เพื่อให้พิจารณาแต่งตั้งข้าราชการทหารซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นร้อยตรี เรือตรี หรือเรืออากาศตรีขึ้นไป ไปปฏิบัติการตามคำขอ โดยข้าราชการทหารที่ได้รับการแต่งตั้งมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
๑. ค้นสถานที่ โดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาล
- มีอำนาจเข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใด ๆ เพื่อตรวจค้น เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่า มีบุคคลซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหลบซ่อนอยู่ หรือ มีทรัพย์สินซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยการกระทำความผิด หรือได้ใช้ หรือจะใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้
- ประกอบกับกรณีดังกล่าวต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่า เนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ บุคคลนั้นจะหลบหนีไป หรือ ทรัพย์สินนั้นจะถูกโยกย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม
- ในกรณีดังกล่าวถ้าเป็นการเข้าค้นในเวลากลางคืนภายหลังพระอาทิตย์ตก ข้าราชการทหารผู้เป็นหัวหน้าในการเข้าค้น ต้องเป็นข้าราชการทหารซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นร้อยเอก เรือเอก หรือเรืออากาศเอกขึ้นไป
๒. ค้นบุคคล หรือยานพาหนะ
- มีอำนาจค้นตัวบุคคล และยานพาหนะ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่า มียาเสพติด ซุกซ่อนอยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
๓. จับกุม
- ในกรณีที่พบบุคคลใด ๆ กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวผู้ถูกจับไว้เพื่อทำการสอบสวนเบื้องต้นได้เป็นเวลาไม่เกินสามวัน
- เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าว หรือก่อนนั้นตามที่จะเห็นสมควร ให้ส่งตัวผู้ถูกจับไปยังพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ โดยมิให้ถือว่าการควบคุมผู้ถูกจับดังกล่าวเป็นการควบคุมของพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (มิให้นับระยะเวลาควบคุมไม่เกิน ๓ วันนั้นรวมเข้าไปกับระยะเวลาการควบคุมของพนักงานสอบสวน)
๔. ยึดหรืออายัด
- ยึดยาเสพติดที่มีไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- ยึดหรืออายัดทรัพย์สินอื่นใดที่ได้ใช้ หรือจะใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้
๕. ค้น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
- ให้ข้าราชการทหารที่ได้รับการแต่งตั้งมีอำนาจหน้าที่ในการค้นดั่งที่กฎหมายบัญญัติให้เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น
๖. ทดสอบการเสพยาเสพติด
- ในกรณีที่จำเป็นและมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดเสพยาเสพติด ให้ข้าราชการทหารซึ่งได้รับแต่งตั้งมีอำนาจสั่งให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลดังกล่าวรับการตรวจ หรือทดสอบว่ามีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่
๗. ขอให้บุคคลช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่
- ในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการทหารดังที่กล่าวมาข้างต้น ให้ข้าราชการทหารดังกล่าวมีอำนาจขอให้บุคคลใดช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ และให้บุคคลนั้นมีอำนาจช่วยการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารได้
๘. เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
- ในการปฏิบัติการตามคำสั่งนี้ ให้ข้าราชการทหารซึ่งได้รับแต่งตั้ง เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และ เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
๙. ให้เจ้าพนักงานอื่นร่วมมือด้วย
- ให้เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๑๙ ยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนตามกฎหมายดังกล่าวโดยเคร่งครัด และ
- ให้เจ้าพนักงานดังกล่าว ดำเนินการร่วมกับข้าราชการทหารซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามคำสั่งนี้
- ในกรณีที่เจ้าพนักงานดังกล่าว ขัดขืน หรือไม่ให้ความร่วมมือ จนก่อให้เกิดความเสียหายในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ ให้ถือว่า ผู้นั้นกระทำความผิดวินัยร้ายแรง