คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4062/2549
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4, 65
ความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4 คำว่า “ผลิต” หมายความว่า เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุงแปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุด้วย และมาตรา 65 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้ใดผลิตนำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 15 ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต
แสดงว่าการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไม่ว่าจะเป็นการเพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ล้วนเป็นการกระทำที่เป็นภัยอย่างร้ายแรงต่อสังคมเพราะเป็นบ่อเกิดแห่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ทำให้ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีอยู่อย่างแพร่หลาย ยากที่จะปราบปรามให้หมดสิ้นไปได้ กฎหมายจึงได้กำหนดโทษไว้สูงถึงจำคุกตลอดชีวิต ย่อมเห็นได้ว่ากฎหมายกำหนดโทษความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามความร้ายแรงของอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่สังคมจากการกระทำความผิดโดยการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไม่ว่าจะด้วยการเพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เป็นการกระทำที่มีลักษณะที่จะเกิดอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงต่อไป
เมื่อกฎหมายมีความมุ่งหมาย เช่นนี้ คำว่า “ผลิต” ที่กฎหมายบัญญัติให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุด้วยนั้น จึงต้องหมายถึงการกระทำอันมีลักษณะที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมในทำนองเดียวกับการเพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ แต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่า เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยพร้อมยึดได้เมทแอมเฟตามีน 27 เม็ด โดยแยกเป็นเมทแอมเฟตามีนที่บรรจุใส่หลอดกาแฟแล้ว 5 เม็ด และเป็นเมทแอมเฟตามีนที่รอการบรรจุอีก 22 เม็ด กับเทียนไข 1 เล่ม หลอดกาแฟตัดสั้นขนาดยาวประมาณ 2 เซนติเมตร 22 อัน เป็นของกลาง การนำเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวใส่หลอดกาแฟซึ่งเป็นเพียงวัตถุห่อหุ้มโดยไม่ได้มีการกระทำใด ๆ แก่สภาพของเมทแอมเฟตามีนนั้น จึงไม่อาจถือได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3814/2549
ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง, 225, 245 วรรคสอง
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4
มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ ให้บทนิยามคำว่า “ผลิต” หมายความว่า เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และให้หมายความตลอดถึงการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุด้วย การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันแบ่งเมทแอมเฟตามีนของกลางใส่ในหลอดกาแฟโดยยังมีหลอดกาแฟหลายหลอดที่เตรียมไว้เพื่อการแบ่งบรรจุเช่นนี้ ถือว่าเป็นการผลิตตามบทนิยามในมาตรา 4 ดังกล่าว
ในฟ้องข้อ 1 ก โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามได้บังอาจร่วมกันผลิตโดยแบ่งบรรจุและมีเมทแอมเฟตามีน 246 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เห็นว่า คำว่า "เพื่อจำหน่าย" นั้นโจทก์ได้บรรยายมุ่งถึงข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง มิใช่ข้อหาผลิตเมทแอมเฟตามีน ทั้งในฟ้องข้อ 2 ก็ได้บรรยายย้ำว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยทั้งสามได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิต และมีไว้เพื่อจำหน่าย และที่เหลือจากการจำหน่ายกับจำหน่ายด้วย จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์บรรยายข้อหาผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายมาในฟ้องแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดฐานร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย และลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในข้อหาดังกล่าว จึงเป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 จำเลยที่ 1 และที่ 3 คงมีความผิดฐานร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเท่านั้น แม้ศาลฎีกาจะไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 2 เนื่องจากต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาไปตลอดถึงจำเลยที่ 2 ได้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง วรรคสอง (เดิม), 65 วรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) 66 วรรคหนึ่ง (เดิม) จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 65 วรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยการแบ่งบรรจุ และฐานมีเมทแอมเฟตามีนกับเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนกับเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9275/2544
ป.อ. มาตรา 33
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2465 มาตรา 4, 15, 65
ข้อเท็จจริงได้ความตามที่ศาลล่างทั้งสองฟังต้องกันเพียงว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุดังฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันตัดหลอดกาแฟและกรอกเฮโรอีนใส่หลอดกาแฟของกลาง ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า การผลิตโดยการแบ่งบรรจุตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษต้องเป็นการแบ่งบรรจุที่เป็นอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงทำนองเดียวกับการเพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 แบ่งบรรจุเฮโรอีนของกลางโดยมีวัตถุประสงค์ที่เป็นอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงทำนองเดียวกับการเพาะปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ฟังว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 อาจแบ่งบรรจุเพื่อความสะดวกในการเสพของตนก็เป็นได้ เช่นนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงไม่เป็นการผลิตตามมาตรา 4, 65
กระบอกและเข็มฉีดยาของกลางมิใช่สิ่งของที่เกี่ยวข้องกับฐานความผิดที่โจทก์ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 (5) เพราะโจทก์มิได้ฟ้องในความผิดฐานเสพยาเสพติดด้วย แม้ทรัพย์ดังกล่าวจะมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด แต่ก็เป็นความผิดฐานอื่นไม่เกี่ยวกับฐานความผิดในคดี หากศาลพิพากษาให้ริบ ย่อมมีผลเป็นการพิพากษาเกินไปจากหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 192 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงไม่อาจริบกระบอกและเข็มฉีดยาของกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9239/2544
ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2465 มาตรา 4, 15, 65, 66, 67
แม้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4 บัญญัติว่า การผลิต ให้หมายความรวมถึง การแบ่งบรรจุหรือการรวมบรรจุด้วย แต่เมื่อคำนึงถึงโทษฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ซึ่งมาตรา 65 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตเท่ากับโทษฐานนำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ในขณะที่โทษฐานจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัมตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง กำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีหรือถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับด้วยแล้ว เห็นได้ว่า กฎหมายกำหนดโทษในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามความร้ายแรงของอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่สังคมอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดโดยการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไม่ว่าด้วยการเพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูปหรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการกระทำที่จะเกิดอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงเพราะเป็นการเพิ่มความรุนแรงของยาเสพติดให้โทษหรือเป็นการทำให้ยาเสพติดให้โทษนั้นแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น กฎหมายจึงต้องกำหนดโทษสูง เมื่อความมุ่งหมายของกฎหมายเป็นเช่นนี้ คำว่า "การแบ่งบรรจุหรือการรวมบรรจุ" ในมาตรา 4 ดังกล่าว จึงต้องหมายถึง การแบ่งบรรจุหรือการรวมบรรจุที่เป็นอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงทำนองเดียวกับการเพาะปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
ข้อเท็จจริงที่ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันแบ่งบรรจุเฮโรอีนของกลางอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 26 หลอด น้ำหนักรวม 1.74 กรัม ซึ่งอาจทำขึ้นเพื่อเก็บไว้เสพเอง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำเลยทั้งสองคงมีความผิดเพียงฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งการกระทำความผิดฐานนี้เป็นการกระทำอย่างหนึ่งในความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และในความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลย่อมลงโทษจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4, 65
ความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4 คำว่า “ผลิต” หมายความว่า เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุงแปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุด้วย และมาตรา 65 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้ใดผลิตนำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 15 ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต
แสดงว่าการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไม่ว่าจะเป็นการเพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ล้วนเป็นการกระทำที่เป็นภัยอย่างร้ายแรงต่อสังคมเพราะเป็นบ่อเกิดแห่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ทำให้ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีอยู่อย่างแพร่หลาย ยากที่จะปราบปรามให้หมดสิ้นไปได้ กฎหมายจึงได้กำหนดโทษไว้สูงถึงจำคุกตลอดชีวิต ย่อมเห็นได้ว่ากฎหมายกำหนดโทษความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามความร้ายแรงของอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่สังคมจากการกระทำความผิดโดยการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไม่ว่าจะด้วยการเพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เป็นการกระทำที่มีลักษณะที่จะเกิดอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงต่อไป
เมื่อกฎหมายมีความมุ่งหมาย เช่นนี้ คำว่า “ผลิต” ที่กฎหมายบัญญัติให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุด้วยนั้น จึงต้องหมายถึงการกระทำอันมีลักษณะที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมในทำนองเดียวกับการเพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ แต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่า เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยพร้อมยึดได้เมทแอมเฟตามีน 27 เม็ด โดยแยกเป็นเมทแอมเฟตามีนที่บรรจุใส่หลอดกาแฟแล้ว 5 เม็ด และเป็นเมทแอมเฟตามีนที่รอการบรรจุอีก 22 เม็ด กับเทียนไข 1 เล่ม หลอดกาแฟตัดสั้นขนาดยาวประมาณ 2 เซนติเมตร 22 อัน เป็นของกลาง การนำเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวใส่หลอดกาแฟซึ่งเป็นเพียงวัตถุห่อหุ้มโดยไม่ได้มีการกระทำใด ๆ แก่สภาพของเมทแอมเฟตามีนนั้น จึงไม่อาจถือได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3814/2549
ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง, 225, 245 วรรคสอง
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4
มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ ให้บทนิยามคำว่า “ผลิต” หมายความว่า เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และให้หมายความตลอดถึงการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุด้วย การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันแบ่งเมทแอมเฟตามีนของกลางใส่ในหลอดกาแฟโดยยังมีหลอดกาแฟหลายหลอดที่เตรียมไว้เพื่อการแบ่งบรรจุเช่นนี้ ถือว่าเป็นการผลิตตามบทนิยามในมาตรา 4 ดังกล่าว
ในฟ้องข้อ 1 ก โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามได้บังอาจร่วมกันผลิตโดยแบ่งบรรจุและมีเมทแอมเฟตามีน 246 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เห็นว่า คำว่า "เพื่อจำหน่าย" นั้นโจทก์ได้บรรยายมุ่งถึงข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง มิใช่ข้อหาผลิตเมทแอมเฟตามีน ทั้งในฟ้องข้อ 2 ก็ได้บรรยายย้ำว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยทั้งสามได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิต และมีไว้เพื่อจำหน่าย และที่เหลือจากการจำหน่ายกับจำหน่ายด้วย จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์บรรยายข้อหาผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายมาในฟ้องแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดฐานร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย และลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในข้อหาดังกล่าว จึงเป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 จำเลยที่ 1 และที่ 3 คงมีความผิดฐานร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเท่านั้น แม้ศาลฎีกาจะไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 2 เนื่องจากต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาไปตลอดถึงจำเลยที่ 2 ได้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง วรรคสอง (เดิม), 65 วรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) 66 วรรคหนึ่ง (เดิม) จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 65 วรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยการแบ่งบรรจุ และฐานมีเมทแอมเฟตามีนกับเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนกับเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9275/2544
ป.อ. มาตรา 33
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2465 มาตรา 4, 15, 65
ข้อเท็จจริงได้ความตามที่ศาลล่างทั้งสองฟังต้องกันเพียงว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุดังฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันตัดหลอดกาแฟและกรอกเฮโรอีนใส่หลอดกาแฟของกลาง ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า การผลิตโดยการแบ่งบรรจุตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษต้องเป็นการแบ่งบรรจุที่เป็นอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงทำนองเดียวกับการเพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 แบ่งบรรจุเฮโรอีนของกลางโดยมีวัตถุประสงค์ที่เป็นอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงทำนองเดียวกับการเพาะปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ฟังว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 อาจแบ่งบรรจุเพื่อความสะดวกในการเสพของตนก็เป็นได้ เช่นนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงไม่เป็นการผลิตตามมาตรา 4, 65
กระบอกและเข็มฉีดยาของกลางมิใช่สิ่งของที่เกี่ยวข้องกับฐานความผิดที่โจทก์ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 (5) เพราะโจทก์มิได้ฟ้องในความผิดฐานเสพยาเสพติดด้วย แม้ทรัพย์ดังกล่าวจะมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด แต่ก็เป็นความผิดฐานอื่นไม่เกี่ยวกับฐานความผิดในคดี หากศาลพิพากษาให้ริบ ย่อมมีผลเป็นการพิพากษาเกินไปจากหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 192 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงไม่อาจริบกระบอกและเข็มฉีดยาของกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9239/2544
ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2465 มาตรา 4, 15, 65, 66, 67
แม้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4 บัญญัติว่า การผลิต ให้หมายความรวมถึง การแบ่งบรรจุหรือการรวมบรรจุด้วย แต่เมื่อคำนึงถึงโทษฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ซึ่งมาตรา 65 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตเท่ากับโทษฐานนำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ในขณะที่โทษฐานจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัมตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง กำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีหรือถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับด้วยแล้ว เห็นได้ว่า กฎหมายกำหนดโทษในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามความร้ายแรงของอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่สังคมอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดโดยการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไม่ว่าด้วยการเพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูปหรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการกระทำที่จะเกิดอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงเพราะเป็นการเพิ่มความรุนแรงของยาเสพติดให้โทษหรือเป็นการทำให้ยาเสพติดให้โทษนั้นแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น กฎหมายจึงต้องกำหนดโทษสูง เมื่อความมุ่งหมายของกฎหมายเป็นเช่นนี้ คำว่า "การแบ่งบรรจุหรือการรวมบรรจุ" ในมาตรา 4 ดังกล่าว จึงต้องหมายถึง การแบ่งบรรจุหรือการรวมบรรจุที่เป็นอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงทำนองเดียวกับการเพาะปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
ข้อเท็จจริงที่ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันแบ่งบรรจุเฮโรอีนของกลางอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 26 หลอด น้ำหนักรวม 1.74 กรัม ซึ่งอาจทำขึ้นเพื่อเก็บไว้เสพเอง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำเลยทั้งสองคงมีความผิดเพียงฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งการกระทำความผิดฐานนี้เป็นการกระทำอย่างหนึ่งในความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และในความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลย่อมลงโทษจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย