วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2560

คณะอนุกรรมการฟื้นฟูฯ มีอำนาจส่งตัวผู้ต้องหากลับไปดำเนินคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11479/2556
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91
พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19, 24
             ตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 กำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่จะเข้ารับการตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดหรือเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดว่าจะต้องเป็นบุคคลที่ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยต้องมีคุณสมบัติสำคัญว่าจะต้องไม่ต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล และผลการตรวจพิสูจน์ต้องเป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติด จึงจะมีสิทธิได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
             หากภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งตามมาตรา 19 ว่า ผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์หรือผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดนั้นต้องหาหรือถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่น ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรือต้องคำพิพากษาให้จำคุก ให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปยังพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไปตามมาตรา 24 หรือถ้าผลการตรวจพิสูจน์ไม่ปรากฏว่าผู้ต้องหาเป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติด ให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานผลการตรวจพิสูจน์ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินคดีต่อไปตามมาตรา 22 วรรคสาม หรือในกรณีที่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจนครบกำหนดเวลาตามมาตรา 25 แล้ว แต่ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดยังไม่เป็นที่พอใจ ให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินคดีผู้นั้นต่อไปตามมาตรา 33 วรรคสอง
             ซึ่งเป็นการกำหนดคุณสมบัติของบุคคลผู้มีสิทธิได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด รวมทั้งการส่งตัวกลับไปดำเนินคดีหากบุคคลนั้นขาดคุณสมบัติ หรือแม้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจนครบกำหนดแล้ว แต่ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดยังไม่เป็นที่พอใจ โดยให้อำนาจคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ หรือให้ศาลเป็นผู้พิจารณามีคำสั่งแล้วแต่ข้อเท็จจริงจะปรากฏในขั้นตอนใด
             โดยไม่มีบทบัญญัติใดที่ระบุว่า เมื่อศาลมีคำสั่งตามมาตรา 19 แล้ว ในการส่งตัวกลับไปดำเนินคดีเพราะเหตุขาดคุณสมบัติหรือเพราะเหตุอื่น จะต้องให้ศาลเป็นผู้พิจารณาสั่งเท่านั้น ส่วนการพิจารณาสั่งของศาลตามมาตรา 24 เป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาลเอง หรือศาลได้รับแจ้งจากคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือพนักงานสอบสวนแล้วแต่กรณี
             การที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดพิษณุโลกตรวจสอบแล้วพบว่าจำเลยถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุก จึงส่งตัวจำเลยไปยังพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไป จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

(ข้อพิจารณา.-  คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด มีอำนาจส่งตัวบุคคลที่เข้ารับการฟื้นฟูฯ กลับไปยังพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไปได้ โดยไม่ต้องมีคำสั่งศาล)

(ข้อกฎหมาย.- พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545  
              มาตรา 19  ผู้ใดต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้าไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่เกิดจากตัวผู้ต้องหานั้นเอง หรือจากพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งทำให้ไม่อาจนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้
             ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้ต้องหามีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ ให้พนักงานสอบสวนนำตัวส่งศาลเพื่อมีคำสั่งให้ตรวจพิสูจน์ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน
             การส่งไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด ให้ศาลพิจารณาส่งตัวไปควบคุมเพื่อตรวจพิสูจน์ที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด สถานที่เพื่อการตรวจพิสูจน์ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือการควบคุมตัวตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยคำนึงถึงอายุ เพศ และลักษณะเฉพาะบุคคลประกอบด้วย แล้วให้ศาลแจ้งคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดทราบ
             ในระหว่างการตรวจพิสูจน์และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ให้พนักงานสอบสวนดำเนินกระบวนการสอบสวนคดีต่อไป และเมื่อสอบสวนเสร็จให้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการโดยไม่ต้องส่งผู้ต้องหาไปด้วย และแจ้งให้ทราบว่าผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่ ณ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด สถานที่เพื่อการตรวจพิสูจน์ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด หรือการควบคุมตัวอย่างแห่งใด
            ในระหว่างที่ผู้ต้องหาถูกควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ต้องดำเนินการฝากขังหรือขอผัดฟ้องตามกฎหมาย

            มาตรา 24  ในกรณีที่ข้อเท็จจริงปรากฏภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งตามมาตรา 19 ว่าผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์หรือผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดนั้นต้องหาหรือถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรือต้องคำพิพากษาให้จำคุก ให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปยังพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไป)

วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560

สารบัญ คดียาเสพติดให้โทษ

บทกฎหมายและฐานความผิด
                -  รวมกฎหมายและระเบียบว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ
                -  อธิบาย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2560
                -  บทบัญญัติความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภท 1  
                -  ขับรถเสพเมทแอมเฟตามีน
                -  กรณีผู้ขับขี่เสพกัญชา
                -  การครอบครองยาเสพติดไว้เพื่อจำหน่าย
                -  พยายามจำหน่ายยาเสพติด
                -  จำหน่ายยาเสพติดให้แก่ผู้กระทำผิดด้วยกันเอง
                -  ฐานผลิตยาเสพติดให้โทษโดยวิธีการแบ่งบรรจุ
                -  บรรยายฟ้อง ความผิดหลายกรรม
                -  ยาเสพติดประเภทเดียวกันเป็นความผิดกรรมเดียว
                -  ประกาศ คสช. ฉบับที่ 109/2557 (แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายยาเสพติด)

การจับกุม ตรวจยึด และตรวจค้น
                -  อำนาจควบคุมผู้ถูกจับไว้ก่อน 3 วัน
                -  การค้นตามลำพัง ไม่ทำบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
                -  หลักฐานการบันทึกข้อมูลการใช้โทรศัพท์
                -  หลักฐานธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อยาเสพติด
                -  ของกลางอันพึงต้องริบ
                -  การประสานงานคดียาเสพติดรายสำคัญ
                -  คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 23/2558 (อำนาจทหาร)
                -  เมื่อผู้ถูกจับประสงค์ให้ข้อมูลที่สำคัญ

การตรวจพิสูจน์และส่งของกลางเบื้องต้น
                -  กรณีไม่ยอมให้ตรวจหาสารเสพติดในร่างกาย
                -  กรณีตรวจไม่พบเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะ
                -  ระยะเวลาส่งของกลางตรวจพิสูจน์และวิธีพิจารณาคดียาเสพติด
                -  ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจับ ยึด และตรวจพิสูจน์ยาเสพติด พ.ศ.2537

การทำสำนวนการสอบสวน
                -  การจับและค้นพบของกลางต่างท้องที่แต่แยกเป็นสองคดี
                -  แยกคดีเสพออกจากคดีจำหน่าย
                -  การจ่ายเงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานยาเสพติด

การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติด
                -  กฎกระทรวงว่าด้วยยาเสพติดที่ให้ฟื้นฟูฯ ได้ (พ.ศ.2546)
                -  ประกาศ คสช. ฉบับที่ 108/2557 (การปฏิบัติเข้าสู่การบำบัดฟื้นฟู)
                -  ขั้นตอนการดำเนินคดีฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในชั้นสอบสวน
                -  คณะอนุกรรมการฟื้นฟูฯ มีอำนาจส่งตัวผู้ต้องหากลับไปดำเนินคดี
                -  กรณียื่นฟ้องผู้ต้องหาเป็นผู้ใหญ่ที่ฟื้นฟูไม่ผ่าน
                -  หนังสือ อสส. กำหนดแนวทางกรณีผู้ต้องหาเป็นเด็กฟื้นฟูไม่ผ่าน

การดำเนินคดีเกี่ยวกับมาตรการยึดทรัพย์
                -  ตัวการร่วม ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน
                -  ช่วยค้นหายาเสพติดหลังจากเจ้าพนักงานยึดไว้แล้ว
                -  ฐานความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการฯ
                -  ข้อแตกต่างข้อหาสมคบและสนับสนุน
                -  กฎกระทรวงว่าด้วยการขออนุมัติจับกุม มาตรา 6,8
                -  ทรัพย์สินที่จะถูกริบตาม พ.ร.บ.มาตรการฯ 
                -  ริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
                -  แนวทางประสานงานกรณีของกลางตาม พ.ร.บ.มาตรการฯ
                -  ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ.2542
                -  เจ้าพนักงานกระทำผิดต้องระวางโทษเป็น 3 เท่า

การดำเนินคดีฐานฟอกเงิน
                -  การฟอกเงินเกี่ยวกับยาเสพติด